Login
พิมพ์
ให้เรตสมาชิก
ไม่ดีดี 
อัพเดตล่าสุดเมือ วันพฤหัสบดี, ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๕

ระบบพิธีการศุลกากรแบบไร้เอกสาร (Paperless Customs) มาจากการริเริ่มของกรมศุลกากร ที่นำรูปแบบของการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบของการแลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงข้อมูล มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ภาคเอกชนได้โดยประสบความสำเร็จ นับตั้งตีปีพ.ศ. 2541 เป็นต้นมา

ซึ่งวิวัฒนาการของระบบในการให้บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมศุลกากร จนมาถึงปัจจุบันนี้นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ช่วงคือ

ThailandNSW

1. ยุคการให้บริการแบบ Manual หรือเป็นแบบที่ยังไม่มีการเชื่อมโยงกัน (Isolated Organization)

2. ยุคระบบ EDI Customs ซึ่งเริ่มมีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างผู้ประกอบการส่งออกนำเข้า กับกรมศุลกากร (B2G) และระหว่างกรมศุลกากรกับหน่วยงานอื่นๆ (G2G) มากขึ้น ด้วยเทคโนโลยี EDI

3. ยุคระบบ Paperless Customs ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานราชการกันเองให้มากขึ้น และปรับปรุงการให้บริการเชื่อมโยงแบบ B2G ให้มีความเป็นมาตรฐานในระดับสากลมากขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับอย่าง ebXML, PKI/Digital Signature และอื่นๆ

4. ยุคระบบ National Single Window (NSW) ซึ่งเป็นยุคที่มีแนวคิดที่จะเชื่อมโยงหน่วยงานทั้งหมดของราชการเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการให้บริการแก่ภาคเอกชน โดยมีแนวคิดให้ภาคธุรกิจสามารถทำธุรกรรมด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านการนำเข้าส่งออกได้โดยแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพียงจุดเดียว (Single Window) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันในระดับประเทศ โดยระบบนี้เป็นระบบที่เป็นโครงการของประเทศโดยมีกรมศุลกากรเป็นจ้าวภาพ ซึ่งในอนาคต NSW นี้จะสามารถเชื่อมโยงกับนานาชาติได้ในอนาคตในแผนงานต่อไป โดยจะเริ่มจากการสร้าง ASEAN Single Window ซึ่งก็คือ Single Window สำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลกันในประเทศกลุ่มอาเซียนเพื่อให้สอดคล้องกับการก่อตั้ง ASEAN Economic Community (AEC) หรือที่เรียกว่าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั่นเอง

NSW

 

ระบบ Paperless Customs ในปัจจุบัน (ปี 2010)

paperlesscustoms-infrastructurrs

ผู้ให้บริการด้าน Paperless Customs สามารถแบ่งประเภทได้ออกเป็น 3 กลุ่มในปัจจุบันดังต่อไปนี้

1. Gateways

เปรียบได้ดั่งประตูที่จะให้ผู้ประกอบการสามารถส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อแลกเปลี่ยนกับกรมศุลกากรได้ ซึ่งการจะเป็นผู้ประกอบการในส่วนนี้ได้ จำเป็นต้องมีศักยภาพสูงและผ่านการพิจารณาจากกรมศุลกากร เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถให้บริการระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ณ ปัจจุบันมีผู้ให้บริการอยู่จำนวน 3 ราย คือ

1) บริษัท เน็ตเบย์ จำกัด (NETBAY)
2) บริษัท เทรดสยาม จำกัด (TRADESIAM)
3) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (CAT)

ซึ่งรายได้จากผู้ให้บริการประเภทนี้ จะได้มาจากค่าบริการการรับส่งข้อมูล (Transaction Fee) และอาจมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการให้บริการรายเดือน (Mail Box Fee)

2. VAS (Value Added Service Providers) หรือ Sub VANs (Value Added Network)

กลุ่มผู้ให้บริการประเภทนี้ เปรียบได้กับผู้ให้บริการที่ทำการสร้างมูลค่าเพิ่มอื่นๆ ให้กับลูกค้า โดยผู้ประกอบการในกลุ่มนี้ จะผู้ประกอบการที่มีการติดต่อโดยตรงกับลูกค้า ให้บริการกับลูกค้าโดยตรง โดยเป็นการให้บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งผู้ให้บริการส่วนนี้จะทำการคิดค่าใช้จ่ายกับลูกค้าในรูปแบบของค่าบริการการส่งรับข้อมูล (Transaction Fee) ผู้บริการในส่วนนี้ มักมีการจัดหาสินค้าและบริการเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้า โดยบางรายอาจมีการพัฒนาระบบซอฟท์แวร์เองด้วย

3. ASP (Application Software/Service Providers)

ผู้ให้บริการในกลุ่มนี้จะทำการพัฒนาระบบซอฟท์แวร์ให้สามารถทำการสร้างข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนกับกรมศุลกากรเพื่อการนำเข้าส่งออก และติดตั้ง ดูแลระบบให้กับผู้ประกอบการนำเข้าส่งออก โดยจะมีการพัฒนาระบบอื่นๆ หรือทำการเชื่อมโยง (Integration) เพื่อให้ระบบเชื่อมโยงกับระบบของลูกค้าที่มีอยู่แล้วด้วยตามที่ลูกค้าต้องการ

Share บทความนี้

© Copyright 2012 | Computer Data System Co., Ltd. | all right reserved.
Template Joomla 1.7 by Wordpress themes free