ระบบพิธีการศุลกากรแบบไร้เอกสาร (Paperless Customs) มาจากการริเริ่มของกรมศุลกากร ที่นำรูปแบบของการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบของการแลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงข้อมูล มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ภาคเอกชนได้โดยประสบความสำเร็จ นับตั้งตีปีพ.ศ. 2541 เป็นต้นมา
ซึ่งวิวัฒนาการของระบบในการให้บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมศุลกากร จนมาถึงปัจจุบันนี้นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ช่วงคือ
1. ยุคการให้บริการแบบ Manual หรือเป็นแบบที่ยังไม่มีการเชื่อมโยงกัน (Isolated Organization)
2. ยุคระบบ EDI Customs ซึ่งเริ่มมีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างผู้ประกอบการส่งออกนำเข้า กับกรมศุลกากร (B2G) และระหว่างกรมศุลกากรกับหน่วยงานอื่นๆ (G2G) มากขึ้น ด้วยเทคโนโลยี EDI
3. ยุคระบบ Paperless Customs ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานราชการกันเองให้มากขึ้น และปรับปรุงการให้บริการเชื่อมโยงแบบ B2G ให้มีความเป็นมาตรฐานในระดับสากลมากขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีที่ได้รับการยอมรับอย่าง ebXML, PKI/Digital Signature และอื่นๆ
4. ยุคระบบ National Single Window (NSW) ซึ่งเป็นยุคที่มีแนวคิดที่จะเชื่อมโยงหน่วยงานทั้งหมดของราชการเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการให้บริการแก่ภาคเอกชน โดยมีแนวคิดให้ภาคธุรกิจสามารถทำธุรกรรมด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านการนำเข้าส่งออกได้โดยแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพียงจุดเดียว (Single Window) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันในระดับประเทศ โดยระบบนี้เป็นระบบที่เป็นโครงการของประเทศโดยมีกรมศุลกากรเป็นจ้าวภาพ ซึ่งในอนาคต NSW นี้จะสามารถเชื่อมโยงกับนานาชาติได้ในอนาคตในแผนงานต่อไป โดยจะเริ่มจากการสร้าง ASEAN Single Window ซึ่งก็คือ Single Window สำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลกันในประเทศกลุ่มอาเซียนเพื่อให้สอดคล้องกับการก่อตั้ง ASEAN Economic Community (AEC) หรือที่เรียกว่าประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั่นเอง
- ต่อไป
- ต่อไป >>